วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วันวิสาขบูชา




                                                  นาย ณัฐชยา  นิยมธรรม  เลขที่5 ม.6/7

    วิธีทำ
1.เข้าโปรแกรม photoshop > file > new > ตั้งค่าตามที่ต้องการ
2.ลงสีพื้นหลัง คลิกที่เครื่องมือ > Gradient tool > ตามที่ต้องการ
3.คลิก bush tool > วาดใบไม้ กับ ดวงจันทร์
4.Horizontal type tool > เขียนข้อความวันเข้าพรรษา
5.คลิก File > Save เลือกพื้นที่จัดเก็บ > OK

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้น photoshop cs4

                                         Adobe Photoshop CS4

ประวัติของ Adobe Photoshop
                อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop) มักเรียกสั้นๆ ว่า โฟโตชอป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการจัดการแก้ไขและตกแต่งรูปภาพ (photo editing and retouching) แบบแรสเตอร์ ผลิตโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ ซึ่งผลิตโปรแกรมด้านการพิมพ์อีกหลายตัวที่ได้รับความนิยม เช่น Illustrator และ Pagemaker ปัจจุบัน โปรแกรมโฟโตชอปพัฒนามาถึง รุ่น CS4 (Creative Suite 4)
                นักศึกษาปริญญาเอกจากมิชิแกนชื่อ ธอมัส โนล (Thomas Knoll) ได้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับทำภาพสีเฉดเทาขาวดำในชื่อ ดิสเพลย์” (Display) ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นโฟโต้ชอปในปัจจุบัน บริษัทอะโดบีได้พัฒนาโฟโตชอปให้สามารถใช้งานกับไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้ ในโฟโตชอปรุ่น 2.5 หลังจากที่พัฒนารุ่นแรกสำหรับเครื่องแมคอินทอชเท่านั้น และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนกระทั่งรุ่นปัจจุบัน รุ่น CS5 ที่ใช้ออกแบบเท่านั้น

ความสามารถของ Adobe Photoshop CS4

ตกแต่งภาพ
               โปรแกรมโฟโตชอปเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดการไฟล์ข้อมูลรูปภาพ ที่มีประสิทธิภาพ การทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพของโฟโตชอปนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่จัดเก็บข้อมูลรูปภาพแบบRaster โฟโตชอปสามารถใช้ในการตกแต่งภาพ

เล็กน้อย เช่น ลบตาแดง, ลบรอยแตกของภาพ, ปรับแก้สี, เพิ่มสีและแสง หรือการใส่เอฟเฟกต์ให้กับรูป เช่น ทำภาพสีซีเปีย, การทำภาพโมเซค, การสร้างภาพพาโนรามาจากภาพหลายภาพต่อกัน นอกจากนี้ยังใช้ได้ในการตัดต่อภาพ และการซ้อนฉากหลังเข้ากับภาพ
               โฟโตชอปสามารถทำงานกับระบบสี RGB, CMYK, Lab และ Grayscale และสามารถจัดการกับไฟล์รูปภาพที่สำคัญได้ เช่น ไฟล์นามสกุล JPG, GIF, PNG, TIF, TGA โดยไฟล์ที่โฟโตชอปจัดเก็บในรูปแบบเฉพาะของตัวโปรแกรมเอง จะใช้นามสกุลของไฟล์ว่า PSD จะสามารถจัดเก็บคุณลักษณะพิเศษของไฟล์ที่เป็นของโฟโตชอป เช่น เลเยอร์, ชันแนล, โหมดสี รวมทั้งสไลส์ ได้ครบถ้วน
สร้างโฮมเพจ
              โฟโตชอปสามารถใช้ในการสร้างเว็บเพจได้โดยใช้โปรแกรมร่วมที่มาพร้อมกับโฟโตชอป ชื่อ อิมเมจเรดดี Adobe ImageReady โดยการออกแบบสามารถทำได้ในทั้งโฟโตชอปหรืออิมเมจเรดดี และความสามารถในการทำเว็บ เช่น การใส่ลิงก์, การทำภาพเคลื่อนไหว, การทำปุ่มบังคับ สามารถทำได้ในอิมเมจเรดดี้ และเซฟออกมาในรูปแบบเว็บเพจในนามสกุล HTML
โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมทุกโปรแกรมจะมีส่วนการทำงานหรือเรียกว่า Main Program สำหรับใช้งานและควบคุมคำสั่งต่างๆ และทุกๆ โปรแกรมส่วนมากจะมีลักษณะและรูปแบบเมนูที่คล้ายคลึงกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจและใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อาจจะมีบ้างที่แตกต่างจากโปรแกรมอื่น แต่โดยรวมแล้วก็มีส่วนที่คล้ายกันอยู่พอตัว ก็เหมือนกับโปรแกรม Adobe Photoshop CS4 นี้เช่นกัน ก็ได้มีส่วนประกอบของโปรแกรมที่คล้ายกับโปรแกรมอื่น แต่ก็เพียงส่วนแค่คล้ายกันเท่านั้น เพราะมีเมนูและลักษณะอย่างอื่นเพิ่มเติมเข้ามาอยู่มาก(สำหรับมือใหม่ถ้าเห็นแล้ว อาจจะงงไปเลยทีเดียว) เมื่อเราเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะแสดงหน้าต่างหลักๆ ดังรูป

ส่วนที่1 Menu Bar


เป็นชุดคำสั่งสำหรับทำงานทุกรูปแบบในการจัดการกับไฟล์ เช่น เปิด/ปิดหรือบันทึกไฟล์ ไปจนถึงคำสั่งในการตกแต่งภาพ เมนูส่วนนี้ถือว่าเป็นเมนูตายตัวเกือบทุกๆ โปรแกรมก็ว่าได้ เพราะว่าทุกๆ อย่างของการทำงานในโปรแกรม จะต้องมีเมนูนี้ เพื่อไว้เก็บคำสั่งการทำงานต่างๆ ให้กับโปรแกรม และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานอีกด้วย ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS4 นี้ได้มีเมนู เพิ่มขึ้นมาใหม่หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเมนูเสริมขึ้นมาอีก เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เมนู ขยายเข้า/ออก, ปรับหน้าต่างโปรแกรมให้เต็มจอหรือ Full Screen หรือ การจัดวางตำแหน่งของเอกสารหรือตำแหน่งงานที่เราจะทำนั้นเอง เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนประกอบของเมนู ดังนี้


ส่วนที่2 Options Bar


เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือที่เลือกทำงานอยู่เช่น การกำหนดขนาดของหัวพู่กันในเครื่องมือสำหรับวาดภาพ ซึ่งตัวเลือกนี้จะแสดงได้ก็ตัวเมื่อ ได้มีการเลือกใช้เครื่องมือใน Tool box เพื่อเป็นการกำหนดตัวเลือกเพิ่มเติมให้แก่เครื่องมือนั้นๆ

ส่วนที่3 Toolbar


คือ กล่องที่โปรแกรมใช้เก็บเครื่องมือสำหรับตกแต่งภาพเอาไว้ โดยเครื่องมือในกล่องนี้จะถูกแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการทำงาน เช่น ดินสอ พู่กัน หรืองยางลบ เป็นต้น ซึ่งกล่องเครื่องมือนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น ขาดไม่ได้ และถูกใช้งานบ่อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว กล่องเครื่องมือนี้จะมีส่วนคล้ายกับรุ่นก่อนหน้านี้พอสมควร และในกรณีที่เกิดการบดบังพื้นที่งาน ลูกศรคู่ด้านซ้ายมือของแถบสีดำนี้มีไว้เพื่อเปลี่ยนการแสดงปุ่มเครื่องมือ จากแถวคู่ให้เป็นแถวเรียงเดี่ยว เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าต่างให้กว้างขึ้น การเลือกใช้เครื่องมือชนิดต่างๆก็ทำด้วยการคลิกที่ปุ่มนั้นๆ ส่วน
ลูกศรสีดำเล็กๆตรงมุมขวาด้านล่างของปุ่มเครื่องมือจะมีเครื่องมือต่าง ชนิดซ่อนอยู่ การเรียกใช้ก็คลิกเมาส์ที่ลูกศรค้างไว้แล้วเลื่อนเม้าไปเลือกเครื่องมือที่ ต้องการแล้วปล่อยเมาส์ เครื่องมือบางชนิดต้องใช้ควบคู่ไปกับคีย์บอร์ดด้วยถึงจะใช้งานได้ เช่น Clone stamp tool ต้องใช้คู่กับ Alt เป็นต้น

ส่วนที่4พื้นที่การทำงานและกระดาษวาดภาพ (Canvas)      


ในตอนเริ่มต้นจะเป็นพื้นที่ว่างๆ ต้องใช้คำสั่งเปิดภาพขึ้นมาก่อน หลังจากเปิดภาพขึ้นมาแล้ว บริเวรนี้จะกลายเป็นพื้นที่สำหรับตกแต่งภาพภาพที่เลือกเปิดจะมาปรากฏ บนกระดานวาดภาพและสามารถย้ายตำแหน่งไปมาหรือขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ทำงานได้

ส่วนที่5 ชุดพาเลท (Palettes) 


คือ กลุ่มของหน้าต่างที่ช่วยควบคุมรายละเอียดปลีกย่อยในขั้นตอนการทำงาน เช่น พาเลท History ที่ช่วยบันทึกขั้นตอนการตกแต่งภาพเอาไว้สำหรับกลับมาแก้ไข หรือพาเลท Navigator สำหรับควบคุมการซูมภาพ ตรงส่วนนี้เราสามารถที่จะเพิ่ม/ลบ พาเลทได้ที่ เมนูบาร์ ในชื่อ Windows แล้วให้ติ้กเลือกตามความต้องการว่า จะให้แสดงพาเลทใดบ้าง เช่น พาเลทของฟอนต์หรือแบบอักษร พาเลทภาพสามมิติ พาเลทแอคชันและอื่นๆ เป็นต้น การเปิด Palette ใหม่ก็ด้วยการคลิกคำสั่ง Window ที่ Menu bar แล้วเลือกเปิด Pallet ที่ต้องการ Palette ใหม่จะไม่รวมกลุ่มกับของที่เปิดไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าอยากจัดเก็บให้เข้ากลุ่มก็ทำได้ด้วยการ คลิกที่ Tab ของหัวข้อ แล้วลากไปวางไว้ในกลุ่มที่มีอยู่ก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยเมาส์ การปิด Palette ใด Palette หนึ่ง ก็ให้คลิกที่ Tab ของหัวข้อ แล้วลาก Palette นั้นออกมา แล้วคลิกที่ กากบาท x ที่อยู่มุมบนขวาเพื่อทำการปิด ลูกศรคู่สีเทาบนแถบสีดำบนสุดของ Palette มีไว้เพื่อย่อให้ Palette มีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทำงาน ส่วนลูกศรสีดำหันหัวลงด้านล่างและมีขีดสี่เส้นอยู่ด้านขวามีไว้เพื่อเปิด เลือกคำสั่งการใช้งานต่างๆ  ที่เป็นคำสั่งในส่วนของ Layer

ส่วนที่6 แถบปรับมุมมองการทำงาน (Application Bar)  


เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมตัวโปรแกรมและหน้าต่างโปรแกรมเช่น เปิด ปิด หรือ ย่อขยายขนาดของ Photoshop นอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถกำหนดรูปแบบการแสดงภาพในโปรแกรมได้อีกด้วย

กล่องเครื่องมือ (Toolbox) 
ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานและมีจำนวนมาก จึงมีการรวบรวมเครื่องมือไว้ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจะมีรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่มุมขวาล่างบนรูปเครื่องมือเพื่อบอกให้รู้ว่าในเครื่องมือนั้นมีเครื่องมืออื่นซ่อนอยู่อีก เราจะใช้งานเครื่องมือนั้นได้ โดยการคลิกเมาท์ค้างที่ปุ่มเครื่องมือเครื่องมือที่ซ่อนไว้จะแสดงออกมา โดยจะประกอบไปด้วยเครื่องมือย่อย ดังต่อไปนี้




credit
http://webquest.kanokrat.info/?page_id=1245