วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โลโก้เสื้อผ้า


โลโก้เสื้อยี่ห้อ dominant Dn


ที่มาของชื่อ เนื่องจากเจ้าของร้านชื่นชอบผลิตภัณฑ์ของเเท้จึงได้ให้โลโก้ชื่อ Dominant
ที่แปลว่า เด่น เเท้ เเละอีกเหตุผลหนึ่งที่ตั้งชื่อโลโก้ว่า Dominantเพื่อที่จะต่อต้านสินค้าลอกเลียนแบบ
ส่วน Dn เป็นชื่อย่อของ Dominant

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ก่อนทำ

หลังทำ

  วิธีการสร้าง effect แบบ window vista โดย Photoshop
1. เปิดรูปภาพ
2. ไปที่ Filter ---> Blur ---> Gaussian Blur ตั้งค่า Radius = 20
3. เลือกที่ Image ---> Adjustments ---> Color Balance
ตั้งค่า Color Levels ในส่วนของ Shadow
ตั้งค่า Color Levels อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้เลือกที่ Midtones
ตั้งค่าในส่วนของ Highlights โดยกำหนด Color Level
4. เลือกที่ Elliptical Marquee Tool  จากนั้นทำการลากตามแบบด้านล่าง
5. ต่อไปให้เลือก Brush Tool  โดยตั้งค่าขนาดของแปรงอยู่ระหว่างประมาณ 200-300 แล้วในส่วนของHardness ให้กำหนดแล้ว 0 กำหมดสีของแปรงเป็นสีขาว
6. จากนั้นให้กด Ctrl+D และ Ctrl + T แล้วทำการหมุนให้เส้นขอบเอียง
7. ดำเนินการซ้ำตามขั้นตอนที่ 5-6 อีก จนได้รูปแบบตามด้านบน


งานหยดน้ำ

Before
After
วิธีทำ
1.เข้าโปรเเกรม Photoshop ในเครื่องคอมพิวเตอร์
2.เลือกเปิดรูปภาพดอกไม้มา1รูป
3.คลิกที่ Create new layer
4.เลือก Eliipcal Marquee Tool
5.วาดรูปให้คล้ายๆหยดน้ำ
6.เลือก Gradient Tool
7.ลงสีในรูปหยดน้ำที่เราวาด
8.คลิกที่ FX
9.เลือก Drop Shadow
10.เลือก Inner Glow
11.คลิกที่Normal เเล้วเปลี่ยนเป็น Overlay

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตัดต่อ

ก่อนทำ

หลังทำ


วิธีทำ
1.เลือกภาพจากเน็ต
2.ตัดต่อตามต้องการ
3.ใส่สี
4.เซฟภาพ

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตัดต่อภาพพื้นหลัง


                                                                   Before
After

วิธีทำ
1.ถ่ายรูปที่ต้องการมาตัดต่อ
2.นำรูปเข้า photoshop
3.ตัดรูปด้วยเครื่องมือ Quick Selection Tool
4.นำรูปที่ตัดแล้วมาลบพืนหลังออก
5.นำพื้นหลังที่ต้องการใส่เข้าไปในส่วนที่ตัดออก

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วันวิสาขบูชา




                                                  นาย ณัฐชยา  นิยมธรรม  เลขที่5 ม.6/7

    วิธีทำ
1.เข้าโปรแกรม photoshop > file > new > ตั้งค่าตามที่ต้องการ
2.ลงสีพื้นหลัง คลิกที่เครื่องมือ > Gradient tool > ตามที่ต้องการ
3.คลิก bush tool > วาดใบไม้ กับ ดวงจันทร์
4.Horizontal type tool > เขียนข้อความวันเข้าพรรษา
5.คลิก File > Save เลือกพื้นที่จัดเก็บ > OK

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้น photoshop cs4

                                         Adobe Photoshop CS4

ประวัติของ Adobe Photoshop
                อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop) มักเรียกสั้นๆ ว่า โฟโตชอป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการจัดการแก้ไขและตกแต่งรูปภาพ (photo editing and retouching) แบบแรสเตอร์ ผลิตโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ ซึ่งผลิตโปรแกรมด้านการพิมพ์อีกหลายตัวที่ได้รับความนิยม เช่น Illustrator และ Pagemaker ปัจจุบัน โปรแกรมโฟโตชอปพัฒนามาถึง รุ่น CS4 (Creative Suite 4)
                นักศึกษาปริญญาเอกจากมิชิแกนชื่อ ธอมัส โนล (Thomas Knoll) ได้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับทำภาพสีเฉดเทาขาวดำในชื่อ ดิสเพลย์” (Display) ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นโฟโต้ชอปในปัจจุบัน บริษัทอะโดบีได้พัฒนาโฟโตชอปให้สามารถใช้งานกับไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้ ในโฟโตชอปรุ่น 2.5 หลังจากที่พัฒนารุ่นแรกสำหรับเครื่องแมคอินทอชเท่านั้น และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนกระทั่งรุ่นปัจจุบัน รุ่น CS5 ที่ใช้ออกแบบเท่านั้น

ความสามารถของ Adobe Photoshop CS4

ตกแต่งภาพ
               โปรแกรมโฟโตชอปเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดการไฟล์ข้อมูลรูปภาพ ที่มีประสิทธิภาพ การทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพของโฟโตชอปนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่จัดเก็บข้อมูลรูปภาพแบบRaster โฟโตชอปสามารถใช้ในการตกแต่งภาพ

เล็กน้อย เช่น ลบตาแดง, ลบรอยแตกของภาพ, ปรับแก้สี, เพิ่มสีและแสง หรือการใส่เอฟเฟกต์ให้กับรูป เช่น ทำภาพสีซีเปีย, การทำภาพโมเซค, การสร้างภาพพาโนรามาจากภาพหลายภาพต่อกัน นอกจากนี้ยังใช้ได้ในการตัดต่อภาพ และการซ้อนฉากหลังเข้ากับภาพ
               โฟโตชอปสามารถทำงานกับระบบสี RGB, CMYK, Lab และ Grayscale และสามารถจัดการกับไฟล์รูปภาพที่สำคัญได้ เช่น ไฟล์นามสกุล JPG, GIF, PNG, TIF, TGA โดยไฟล์ที่โฟโตชอปจัดเก็บในรูปแบบเฉพาะของตัวโปรแกรมเอง จะใช้นามสกุลของไฟล์ว่า PSD จะสามารถจัดเก็บคุณลักษณะพิเศษของไฟล์ที่เป็นของโฟโตชอป เช่น เลเยอร์, ชันแนล, โหมดสี รวมทั้งสไลส์ ได้ครบถ้วน
สร้างโฮมเพจ
              โฟโตชอปสามารถใช้ในการสร้างเว็บเพจได้โดยใช้โปรแกรมร่วมที่มาพร้อมกับโฟโตชอป ชื่อ อิมเมจเรดดี Adobe ImageReady โดยการออกแบบสามารถทำได้ในทั้งโฟโตชอปหรืออิมเมจเรดดี และความสามารถในการทำเว็บ เช่น การใส่ลิงก์, การทำภาพเคลื่อนไหว, การทำปุ่มบังคับ สามารถทำได้ในอิมเมจเรดดี้ และเซฟออกมาในรูปแบบเว็บเพจในนามสกุล HTML
โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมทุกโปรแกรมจะมีส่วนการทำงานหรือเรียกว่า Main Program สำหรับใช้งานและควบคุมคำสั่งต่างๆ และทุกๆ โปรแกรมส่วนมากจะมีลักษณะและรูปแบบเมนูที่คล้ายคลึงกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจและใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อาจจะมีบ้างที่แตกต่างจากโปรแกรมอื่น แต่โดยรวมแล้วก็มีส่วนที่คล้ายกันอยู่พอตัว ก็เหมือนกับโปรแกรม Adobe Photoshop CS4 นี้เช่นกัน ก็ได้มีส่วนประกอบของโปรแกรมที่คล้ายกับโปรแกรมอื่น แต่ก็เพียงส่วนแค่คล้ายกันเท่านั้น เพราะมีเมนูและลักษณะอย่างอื่นเพิ่มเติมเข้ามาอยู่มาก(สำหรับมือใหม่ถ้าเห็นแล้ว อาจจะงงไปเลยทีเดียว) เมื่อเราเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะแสดงหน้าต่างหลักๆ ดังรูป

ส่วนที่1 Menu Bar


เป็นชุดคำสั่งสำหรับทำงานทุกรูปแบบในการจัดการกับไฟล์ เช่น เปิด/ปิดหรือบันทึกไฟล์ ไปจนถึงคำสั่งในการตกแต่งภาพ เมนูส่วนนี้ถือว่าเป็นเมนูตายตัวเกือบทุกๆ โปรแกรมก็ว่าได้ เพราะว่าทุกๆ อย่างของการทำงานในโปรแกรม จะต้องมีเมนูนี้ เพื่อไว้เก็บคำสั่งการทำงานต่างๆ ให้กับโปรแกรม และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานอีกด้วย ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS4 นี้ได้มีเมนู เพิ่มขึ้นมาใหม่หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเมนูเสริมขึ้นมาอีก เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เมนู ขยายเข้า/ออก, ปรับหน้าต่างโปรแกรมให้เต็มจอหรือ Full Screen หรือ การจัดวางตำแหน่งของเอกสารหรือตำแหน่งงานที่เราจะทำนั้นเอง เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนประกอบของเมนู ดังนี้


ส่วนที่2 Options Bar


เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือที่เลือกทำงานอยู่เช่น การกำหนดขนาดของหัวพู่กันในเครื่องมือสำหรับวาดภาพ ซึ่งตัวเลือกนี้จะแสดงได้ก็ตัวเมื่อ ได้มีการเลือกใช้เครื่องมือใน Tool box เพื่อเป็นการกำหนดตัวเลือกเพิ่มเติมให้แก่เครื่องมือนั้นๆ

ส่วนที่3 Toolbar


คือ กล่องที่โปรแกรมใช้เก็บเครื่องมือสำหรับตกแต่งภาพเอาไว้ โดยเครื่องมือในกล่องนี้จะถูกแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการทำงาน เช่น ดินสอ พู่กัน หรืองยางลบ เป็นต้น ซึ่งกล่องเครื่องมือนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น ขาดไม่ได้ และถูกใช้งานบ่อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว กล่องเครื่องมือนี้จะมีส่วนคล้ายกับรุ่นก่อนหน้านี้พอสมควร และในกรณีที่เกิดการบดบังพื้นที่งาน ลูกศรคู่ด้านซ้ายมือของแถบสีดำนี้มีไว้เพื่อเปลี่ยนการแสดงปุ่มเครื่องมือ จากแถวคู่ให้เป็นแถวเรียงเดี่ยว เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าต่างให้กว้างขึ้น การเลือกใช้เครื่องมือชนิดต่างๆก็ทำด้วยการคลิกที่ปุ่มนั้นๆ ส่วน
ลูกศรสีดำเล็กๆตรงมุมขวาด้านล่างของปุ่มเครื่องมือจะมีเครื่องมือต่าง ชนิดซ่อนอยู่ การเรียกใช้ก็คลิกเมาส์ที่ลูกศรค้างไว้แล้วเลื่อนเม้าไปเลือกเครื่องมือที่ ต้องการแล้วปล่อยเมาส์ เครื่องมือบางชนิดต้องใช้ควบคู่ไปกับคีย์บอร์ดด้วยถึงจะใช้งานได้ เช่น Clone stamp tool ต้องใช้คู่กับ Alt เป็นต้น

ส่วนที่4พื้นที่การทำงานและกระดาษวาดภาพ (Canvas)      


ในตอนเริ่มต้นจะเป็นพื้นที่ว่างๆ ต้องใช้คำสั่งเปิดภาพขึ้นมาก่อน หลังจากเปิดภาพขึ้นมาแล้ว บริเวรนี้จะกลายเป็นพื้นที่สำหรับตกแต่งภาพภาพที่เลือกเปิดจะมาปรากฏ บนกระดานวาดภาพและสามารถย้ายตำแหน่งไปมาหรือขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ทำงานได้

ส่วนที่5 ชุดพาเลท (Palettes) 


คือ กลุ่มของหน้าต่างที่ช่วยควบคุมรายละเอียดปลีกย่อยในขั้นตอนการทำงาน เช่น พาเลท History ที่ช่วยบันทึกขั้นตอนการตกแต่งภาพเอาไว้สำหรับกลับมาแก้ไข หรือพาเลท Navigator สำหรับควบคุมการซูมภาพ ตรงส่วนนี้เราสามารถที่จะเพิ่ม/ลบ พาเลทได้ที่ เมนูบาร์ ในชื่อ Windows แล้วให้ติ้กเลือกตามความต้องการว่า จะให้แสดงพาเลทใดบ้าง เช่น พาเลทของฟอนต์หรือแบบอักษร พาเลทภาพสามมิติ พาเลทแอคชันและอื่นๆ เป็นต้น การเปิด Palette ใหม่ก็ด้วยการคลิกคำสั่ง Window ที่ Menu bar แล้วเลือกเปิด Pallet ที่ต้องการ Palette ใหม่จะไม่รวมกลุ่มกับของที่เปิดไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าอยากจัดเก็บให้เข้ากลุ่มก็ทำได้ด้วยการ คลิกที่ Tab ของหัวข้อ แล้วลากไปวางไว้ในกลุ่มที่มีอยู่ก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยเมาส์ การปิด Palette ใด Palette หนึ่ง ก็ให้คลิกที่ Tab ของหัวข้อ แล้วลาก Palette นั้นออกมา แล้วคลิกที่ กากบาท x ที่อยู่มุมบนขวาเพื่อทำการปิด ลูกศรคู่สีเทาบนแถบสีดำบนสุดของ Palette มีไว้เพื่อย่อให้ Palette มีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทำงาน ส่วนลูกศรสีดำหันหัวลงด้านล่างและมีขีดสี่เส้นอยู่ด้านขวามีไว้เพื่อเปิด เลือกคำสั่งการใช้งานต่างๆ  ที่เป็นคำสั่งในส่วนของ Layer

ส่วนที่6 แถบปรับมุมมองการทำงาน (Application Bar)  


เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมตัวโปรแกรมและหน้าต่างโปรแกรมเช่น เปิด ปิด หรือ ย่อขยายขนาดของ Photoshop นอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถกำหนดรูปแบบการแสดงภาพในโปรแกรมได้อีกด้วย

กล่องเครื่องมือ (Toolbox) 
ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานและมีจำนวนมาก จึงมีการรวบรวมเครื่องมือไว้ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจะมีรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่มุมขวาล่างบนรูปเครื่องมือเพื่อบอกให้รู้ว่าในเครื่องมือนั้นมีเครื่องมืออื่นซ่อนอยู่อีก เราจะใช้งานเครื่องมือนั้นได้ โดยการคลิกเมาท์ค้างที่ปุ่มเครื่องมือเครื่องมือที่ซ่อนไว้จะแสดงออกมา โดยจะประกอบไปด้วยเครื่องมือย่อย ดังต่อไปนี้




credit
http://webquest.kanokrat.info/?page_id=1245